วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คู่มือเตรียมสอบ

คู่มือเตรียมสอบ

ผลงานลูกค้า

เปิดสอบ ราชการ งานราชการ หางาน สอบราชการ พนักงานราชการ สอบบรรจุ หางาน รับสมัครงาน สอบ กพ. อบต. สอบภาค ก สอบภาค ข รับสมัครงาน ศูนย์รวมงานราชการ
ศูนย์หนังสือสอบ sheetchula เป็นที่รวบรวมแนวข้อสอบรับราชการ ทุกหน่วยงาน และนี่คือผลงาน ความคิดเห็นของลูกค้าที่ซื้อข้อสอบจากเราไป บางส่วน






1
2
3
4
5
6
7
8



บริการต่างๅ

บริการต่างๆ

บริการต่างๆ


ติดตาม Facebook

ติดตาม Facebook

Youtube

แนวข้อสอบศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา ศาลอาญา ศาลอุทธรณ์




รายละเอียดวิชาที่สอบ #
แนวข้อสอบศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา ศาลอาญา ศาลอุทธรณ์
1 ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ
2 แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
3 แนวข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
4 การถ่ายภาพ การถ่ายวีดีทัศน์ เครื่องมือ อุปกรณ์สมัยใหม่
5 การผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
6 ความรู้เกี่ยวกับหลักการถ่ายภาพ
7 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
8 ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์
9 แนวข้อสอบความเข้าใจในการถ่ายภาพเบื้องต้น
10 การเตรียมตัวสอบภาค ค. และสอบสัมภาษณ์เข้าทำงานศาลรัฐธรรมนูญ

+++ อ่านประกาศเพิ่มเติม และลิ้งค์สมัครที่ http://www.งานราชการไทย.com/
+++ กดติดตามรับข้อสอบที่ : http://line.me/ti/p/%40awr8388d
+++ กดถูกใจเพื่อรับแนวข้อสอบ
ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา ศาลอาญา ศาลอุทธรณ์
ที่ https://www.facebook.com/1767050083579924

แนวข้อสอบ

แนวข้อสอบ

ความรู้ทั่วไป

ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)

ศาลรัฐธรรมนูญ (ย่อ: ศร.) เป็นองค์กรตุลาการที่จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบเลิกไป และมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป

องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ[แก้]

แผนผังแสดงโครงสร้างและที่มาของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐ ธรรมนูญพ.ศ. 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรวม 15 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้
  1. ผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 5 คน
  2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีการลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา โดยการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 คน
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา โดยการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 คน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งกับและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้
  1. ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 3 คน
  2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน
อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของศาลรัฐธรรมนูญ คือ การพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา หรือของรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือพิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยที่ศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้ง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ตลอดจนพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ
การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญเป็นระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปของศาลยุติธรรม
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เคยมีที่ตั้งอยู่ที่ อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ เลขที่ 326 ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนครกรุงเทพมหานคร แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร[2]ใกล้กับที่ทำการกองบัญชาการกองทัพไทย

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ตลก.)[แก้]

ที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญหลังเก่า ณ อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549[แก้]

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุด พ.ศ. 2549 ได้สิ้นสภาพไปพร้อมกับศาลรัฐธรรมนูญ ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้บัญญัติขึ้นตามมาตรา 35 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่แทน

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550[แก้]

คำวินิจฉัย[แก้]

ตั้งแต่มีการออกคำสั่งของคณะรัฐประหารฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2549 หลังการรัฐประหาร 1 วัน ซึ่งส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญที่มีมาแต่เดิมสิ้นสภาพและศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ก็ได้ขึ้นปฏิบัติการจากกระบวนการคัดสรรตามคำสั่งของคณะรัฐประหาร ซึ่งการดำเนินการพิจารณาคดีต่างๆที่เกิดขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากว่าขัดต่อหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญอยู่เสมอ และขยายขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญออกไปเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด รวมถึงการก้าวก่ายอำนาจของฝ่ายบริการและฝ่ายนิติบัญญัติ
พ.ศ. 2550
ตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย จากการจ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้ง และเพิกถอนสิทธิลงเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี โดยในภายหลัง นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้น กล่าวถึงการวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค ณ ขณะนั้นเป็นไปเพื่อรักษาความสงบของบ้านเมือง ซึ่งไม่ได้วินิจฉัยคดีโดยวางอยู่บนพื้นฐานนิติรัฐ นิติธรรม
ตัดสินให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิดในทุกข้อกล่าวหาในกรณีจ้างพรรคเล็กใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ซึ่งในภายหลังนายสุขสันต์ ไชยเทศ อดีตผู้อำนวยการพรรคพัฒนาชาติไทย และนายชวการ โตสวัสดิ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคพัฒนาชาติไทย ซึ่งเป็นพยานปากเอกคดียุบพรรคไทยรักไทย เปิดเผยว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ สัญญาว่าจะให้เงินพยานพรรคเล็กคนละ 15 ล้านบาทและช่วยเรื่องคดีแลกกับการที่ให้พยานเหล่านี้ให้การว่าไปพบ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยาเพื่อรับการว่าจ้างให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยที่ความจริงแล้วมิได้มีเหตุการณ์ดังกล่าว โดยในระหว่างการดำเนินคดี นายสุเทพ เทือกสุบรรณได้นำพยานเหล่านี้ไปเก็บตัวในเซฟเฮาส์ทางภาคใต้ และสุดท้ายก็ไม่ได้ช่วยเหลือเรื่องคดีกับพยานพรรคเล็กเหล่านี้ดังที่สัญญาไว้แต่อย่างใด
พ.ศ. 2551
วินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากจัดรายการชิมอาหาร ซึ่งในภายหลังนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ได้ยอมรับว่าการวินิจฉัยถอด นายสมัคร สุนทรเวช ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นั้นผิดพลาด ด้วยการนำข้อกฎหมายมาวางก่อน แล้วค่อยนำข้อเท็จจริงมาพิจารณา
ตัดสินให้ยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌมาธิปไตย และเพิกถอนสิทธิลงเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี
ดูเพิ่มเติมที่: คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2553
ยกคำร้อง กรณีนายอภิชาต สุขัคคานนท์ นายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์ใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 ด้วยมติสี่ต่อสองว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ร้องยื่นคำร้องมาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏแก่ตนว่าผู้ถูกร้องฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นเหตุให้ถูกยุบได้ มว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องมาล่วงระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าวนี้ จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง
ยกคำร้อง กรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์รับเงินบริจาคจำนวน 258 ล้านบาท จากบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า เนื่องจากกระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง

พ.ศ. 2556
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาและคุณสมบัติของ ส.ว.เป็นการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามมาตรา 68 โดยจากกรณีนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากต่อส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่กล่าวว่า
ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแม้จะให้ถือเอามติฝ่ายเสียงข้างมากเป็น เกณฑ์ก็ตาม แต่หากละเลยหรือใช้อำนาจตามอำเภอใจกดขี่ข่มเหงฝ่ายเสียงข้างน้อยโดยไม่ฟังเหตุผลและขาดหลักประกันจนทำให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยไม่มีที่อยู่ที่ยืนตามสมควรแล้วไซร้ จะถือว่าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร หากแต่ก็จะกลับกลายเป็นระบอบเผด็จการฝ่ายข้างมาก ขัดแย้งต่อระบอบการปกครองของประเทศไปอย่างชัดแจ้ง
ซึ่งในตอนท้ายของคำวินิจฉัย ก็มีเป็นการลงมติโดยเสียงข้างมากขององค์คณะตุลาการในการตัดสินเรื่องนี้
อาศัยเหตุดังได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้นจึงวินิจฉัยโดยมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่าการดำเนินการพิจารณาและลงมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องทั้งหมดในคดีนี้เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 มาตรา 125 วรรค 1 และวรรค 2 มาตรา 126 วรรค 3 มาตรา 291 และมาตรา 3 และวินิจฉัยด้วยมติเสียงข้างมากว่า 5 ต่อ 4 ว่า มีเนื้อความที่เป็นสาระสำคัญขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 อันเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้ถูกร้องได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรค 1

รายนามประธานศาลรัฐธรรมนูญ[แก้]

  1. นายเชาวน์ สายเชื้อ (11 เมษายน พ.ศ. 2541[3] - 23 กันยายน พ.ศ. 2542)
  2. นายประเสริฐ นาสกุล (12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 [4] - 7 กันยายน พ.ศ. 2544)
  3. นายอิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ (14 มีนาคม พ.ศ. 2545[5] - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
  4. นายกระมล ทองธรรมชาติ (28 มีนาคม พ.ศ. 2546[6] - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2548)
  5. นายอุระ หวังอ้อมกลาง (3 สิงหาคม พ.ศ. 2549[7] - 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
  6. นายชัช ชลวร (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 [8] - 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (ลาออก)[9])
  7. นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ (26 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 (ลาออก)[10]
  8. นายจรูญ อินทจาร ( 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 [11] )
  9. นายนุรักษ์ มาประณีต ( 11 กันยายน พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน)

บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ[แก้]

  1. นาย ชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
  2. นายอุระ หวังอ้อมกลาง (ศาลฎีกา) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
  3. นายผัน จันทรปาน (ศาลปกครองสูงสุด)
  4. นายจิระ บุญพจนสุนทร (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)
  5. นายจุมพล ณ สงขลา (ศาลฎีกา)
  6. นายนพดล เฮงเจริญ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์)
  7. นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ (ศาลฎีกา)
  8. นายมงคล สระฏัน (ศาลฎีกา)
  9. นายมานิต วิทยาเต็ม (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์
  10. นายศักดิ์ เตชาชาญ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)
  11. พล.ต.อ สุวรรณ สุวรรณเวโช (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์)
  12. นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ (ศาลฎีกา)
  13. นายสุธี สุทธิสมบูรณ์ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)
  14. ศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ อัศวโรจน์ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)
  15. นายอภัย จันทนจุลกะ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์)
  16. นายเชาวน์ สายเชื้อ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์)
  17. ศาสตราจารย์ ดร.โกเมน ภัทรภิรมย์ (ลาออก)
  18. พลโทจุล อติเรก (ครบวาระ)
  19. ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช (ลาออก)
  20. นายประเสริฐ นาสกุล ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์)
  21. นายสุจินดา ยงสุนทร (ลาออก)
  22. นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ (พ้นจากตำแหน่ง)
  23. ศาสตราจารย์อนันต์ เกตุวงศ์ (ครบวาระ)
  24. ศาสตราจารย์ ดร. อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์)
  25. ศาสตราจารย์ ดร. กระมล ทองธรรมชาติ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์)
  26. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุจิต บุญบงการ (พ้นจากตำแหน่ง)
  27. ศาสตราจารย์ ดร.อมร รักษาสัตย์ (พ้นจากตำแหน่ง)
  28. นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (ลาออก)
  29. นายจรูญ อินทจาร (อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์)
  30. นายเฉลิมพล เอกอุรุ(พ้นจากตำแหน่ง)
  31. นายสุพจน์ ไข่มุกด์ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์)


    แนะนำการสอบ

    คำแนะนำในการสอบศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา ศาลอาญา ศาลอุทธรณ์
    ในการสอบเข้ากรม ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา ศาลอาญา ศาลอุทธรณ์  การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ.  ก่อน  แต่ถ้าสอบเป็นลูกจ้าง/พนักงานราชการ  ไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค  ก ของ ก.พ.  การสอบเข้าศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา ศาลอาญา ศาลอุทธรณ์ จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่  2  ครั้ง   คือ  ครั้งที่  1  โดยการสอบข้อเขียน   ครั้งที่  2  โดยการสัมภาษณ์  และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่  2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์  ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60
    การเตรียมตัวสอบ
    ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม  ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก  ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้  ฝึกทำข้อสอบเก่า  โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
    ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง  ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่  แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด  ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน  และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี   นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ  เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
    นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย  เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์  พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ  โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม  
    นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร
    ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ   ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน   ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย  การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกัน  ไม่ต้องเครียด ต้องแสดงความจริงใจ อย่าเสแสร้ง กรรมการจะดูกริยา ลักษณะการพูดจาเป็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนียมไม่เนียม  สำคัญจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณาคือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ ดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม  พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด  อย่าพาใครไปเป็นเพื่อน
    ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 1. ให้แนะนำตัวเอง   2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน

    หลักสูตรที่ใช้ในการสอบเป็นพนักงานราชการ/ลูกจ้าง   ศาลรัฐธรรมนูญ มีดังนี้คือ
    การประเมินครั้งที่  1  โดยวิธีสอบข้อเขียน   (100  คะแนน)
    - ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ  (50  คะแนน)
    - ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ  (50 คะแนน)
    การประเมินครั้งที่  2 โดยการสอบสัมภาษณ์  (100  คะแนน)
    พิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางาน ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง การมีมนุษย์สัมพันธ์ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ
    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

    หลักสูตรที่ใช้ในการสอบเป็นพนักงานราชการ/ลูกจ้าง   ศาลฎีกา  มีดังนี้คือ
    1. ภาคคาวมรู้ความสามารถทั่วไป  (50  คะแนน)
    - ทดสอบความรู้ความสามารถโดยการสอบข้อเขียน  (ความรู้เกี่ยวกับพรบ.ระเบียบราชการบริหารศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 )
    2.  ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  (50  คะแนน)
    3.  ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง   (ภาค   ค )    100  คะแนน   พิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางาน ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง การมีมนุษย์สัมพันธ์ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

    วิชาที่ใช้สอบเป็นข้าราชการของศาลยุติธรรม   มีดังนี้คือ
    1. ความรู้ทั่วไป  (ภาค  ก  )   200   คะแนน  (เฉพาะผู้ที่ไม่ได้สอบผ่านภาค  ก ของ   ก.พ.)
    2. ความรู้เฉพาะตำแหน่ง   (ภาค  ข )    200  คะแนน
    3. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง   การสอบสัมภาษณ์   ( 100  คะแนน )  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง

    รายละเอียดวิชาที่สอบ
    ช่างภาพ ศาลรัฐธรรมนูญ
    1 ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ
    2 แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
    3 แนวข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
    4 การถ่ายภาพ การถ่ายวีดีทัศน์ เครื่องมือ อุปกรณ์สมัยใหม่
    5 การผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
    6 ความรู้เกี่ยวกับหลักการถ่ายภาพ
    7 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
    8 ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์
    9 แนวข้อสอบความเข้าใจในการถ่ายภาพเบื้องต้น
    10 การเตรียมตัวสอบภาค ค. และสอบสัมภาษณ์เข้าทำงานศาลรัฐธรรมนูญ

    ตำแหน่งที่สอบ ศาลรัฐธรรมนูญ
    ช่างภาพ
    ธุรการ
    นักจัดการงานทั่วไป
    นักทรัพยากรบุคคล
    นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
     นิติกร

    รายละเอียดวิชาที่สอบ ศาลฎีกา
    1 นโยบายประธานศาลฎีกาและแผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม
    2 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 2543
    3 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 และแก้ไขเพิ่มเติม
    4 แนวข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
    5 ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย
    6 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    7 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
    8 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
    9 ความรู้เรื่องการวินิจฉัยข้อกฎหมาย
    10 ประมวลกฎหมายอาญา
    11 แนวข้อสอบลักษณะสำคัญของกฎหมายเบื้องต้น

    ตำแหน่งที่สอบ
    นิติกร ศาลฎีกา